top of page

การทำการบินของอากาศยานในยุค COVID-19

ตั้งแต่ปลายปี 2562 จนถึงปัจจุบันเข้าสู่เดือนที่ 4 ของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ซึ่งนับวันจะรุนแรงมากขึ้น ทำให้หลายสายการบินงดทำการบินให้บริการผู้โดยสาร ซึ่งเป็นผลให้ท้องฟ้ามีจำนวนเครื่องบินลดลงเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะสนามบินสุวรรณภูมิจากที่

เคยมีจำนวนเที่ยวบินวันละมากกว่า 1,000 เที่ยวบิน ลดเหลือเพียง 100 กว่าเที่ยวบินเท่านั้น

ซึ่งเป็นผลมาจากประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง ห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว นั่นเอง


ภาพ: เครื่องบินจำนวนมากที่จอดอยู่ในลานจอดสนามบินนานาชาติดอนเมือง

ที่มา: มติชนออนไลน์

ด้วยเหตุผลและความจำเป็นในการป้องกันสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ดังกล่าวตามประกาศข้างต้น มีการห้ามอากาศยานขนส่งคนโดยสารทำการบินเข้ามายัง ท่าอากาศยานในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว ซึ่งฉบับที่ 2 มีการห้ามถึงวันที่ 18 เมษายนพ.ศ 2563 เวลา 23.59 น. โดยไม่รวมถึงอากาศยานต่อไปนี้

1. อากาศยานราชการที่ใช้ในราชการทหาร (State or military aircraft)

2. อากาศยานที่ขอลงฉุกเฉิน (Emergency Landing)

3. อากาศยานที่ขอลงทางเทคนิค (Technical Landing) โดยไม่มีผู้โดยสารออกจากเครื่อง

4. อากาศยานที่ทำการบินเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ทำการบินทางการแพทย์ การขนส่งของเพื่อสงเคราะห์แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) (Humanitarian aid, Medical and Relief flights)

5. อากาศยานที่ได้รับอนุญาตให้ทำการบินรับส่งบุคคลกลับภูมิลำเนา (Repatriation)

6. อากาศยานขนส่งสินค้า (Cargo aircraft)


ดังนั้นอากาศยานต่างๆ จึงถูกห้ามทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว ยกเว้นอากาศยาน 6 ประเภทดังกล่าวข้างต้น ในการปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวจะส่งผลให้สายการบินพาณิชย์ต่างๆ ต้องหยุดการให้บริการขนส่งผู้โดยสารไปอีกสักระยะหนึ่ง เมื่อเหตุการณ์โรคระบาดลดความรุนแรงลง พวกเราก็คงจะเห็นความมีชีวิตชีวาของหน่วยงานและบุคลากรด้านการบินกลับคืนมาทำงานการบินให้บริการขนส่งผู้โดยสารอีกในไม่ช้านี้

81 views0 comments

Comments


bottom of page