สถานการณ์โรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส (Covid-19) ดำเนินมายาวนานต่อเนื่องกว่า 2 ปี นับตั้งแต่วันที่มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อคนแรกในประเทศไทยเมื่อมี.ค.63 จนถึง ณ วันนี้ที่จำเป็นผู้ติดเชื้อรายวันต่ำกว่า 10,000 คน และมีแนวโน้มว่าตัวเลขนี้จะลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นทิศทางที่ดีและทำให้คนไทยนั้นมีความหวังว่าเราจะได้กลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติกันอีกครั้งหนึ่ง
สอดคล้องกับนโยบายการผ่อนคลายมาตรการ Covid-19 ของหลายๆประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปหรือแม้กระทั่งบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างสิงคโปร์ที่ภาครัฐเริ่มมีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเริ่มกลับมาดำเนินชีวิตกันอย่างปกติ รวมถึงเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการเดินทางเข้า-ออกประเทศ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ภาคการท่องเที่ยวของประเทศนั้นกลับมาคักคึกได้โดยตรง
ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว ซึ่งในวันที่ 1 พ.ค.65 ที่ผ่านมา ศบค.ได้มีการประกาศยกเลิก Test & Go ปรับระเบียบในการขอ Thailand pass เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชาวต่างชาติและชาวไทยที่จะเดินทางเข้าประเทศไทย รวมถึงผ่อนคลายมาตรการอื่นๆที่บังคับใช้ภายในประเทศไทยเกือบทั้งหมด
แต่ก็ยังมีความกังวลว่า การเดินทางโดยเครื่องบินมีเพิ่มขึ้น จะไม่ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นหรือ? การโดยสารเครื่องบินนั้น หากเทียบกับการคมนาคมรูปแบบอื่น นั้นมีความปลอดภัยมากกว่า หรือน้อยกว่าอย่างไร?
สถาบัน Mayo Clinic ของสหรัฐอเมริกาได้ศึกษาความเสี่ยงในการติดเชื้อ SARS-Cov-2 หรือ COVID-19 ของผู้โดยสาร 9,852 คน ที่เดินทางเที่ยวบินระหว่างประเทศขาออก จากสนามบินเมือง Atlanta (ATL) และนิวยอร์ค (JFK) ซึ่งผลการศึกษาพบว่า โอกาสในการติดเชื้อ Covid-19 อยู่ที่ 0.5% หรือ 5 คนต่อ 10,000 คน ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำกว่าการติดเชื้อภายในเมืองซึ่งอยู่ที่ 1.1% หรือ 1คนต่อ 100 คน
รวมถึงรายงานวิจัยก็ได้ให้คำแนะนำในการป้องกันตัวเองไว้ว่า “การสวมหน้ากากที่ถูกวิธีและใช้หน้ากากที่สามารถกรองเชื้อโรคได้ จะช่วยลดระดับความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเหลือเพียงหนึ่งในล้านเท่านั้น รวมถึงอัตราการได้รับวัคซีนของประชาชนที่เพิ่มขึ้นก็จะช่วยลดระดับการติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ”
บางคนมีความเชื่อผิดๆ ว่า การเดินทางร่วมกับคนที่มีอาการป่วย จาม ไอ และอยู่ในพื้นที่ที่ “ใช้อากาศเดียวกัน” จะยิ่งทำให้เพิ่มความเสี่ยงให้ติดเชื้อมากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงนั้น ระบบปรับอากาศของเครื่องบิน (Ventilation System) สามารถกำจัดเชื้อไวรัสโคโรนาได้อย่างดีเยี่ยม แต่จริงๆ แล้วสาเหตุส่วนใหญ่ที่ผู้โดยสารได้รับเชื้อโรคนั้นมาจากการสัมผัสโดยตรง (Direct contact) หรือสูดดมละออง (Airborne droplet) ที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคอยู่
ซึ่งการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสโคโรนาบนวัตถุนั้น ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ยังไม่มีคำตอบชัดเจนว่า สายพันธุ์ Omicron นี้ สามารถเกาะอยู่บนวัตถุได้นานขนาดไหน แต่คาดการณ์ว่าสามารถอยู่ได้ถึง 3-4 วัน ดังนั้นสิ่งที่เราสามารถทำได้ด้วยตนเองมีดังนี้
1) พกทิชชู่เปียกที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (Wet wipe) เพื่อเช็ดที่นั่งเสมอ
2) ใส่หน้ากากตลอดเวลา
3) เลี่ยงการใช้ห้องน้ำบนเครื่องบิน
4) ไม่ลุกออกจากที่นั่งบ่อยๆ
5) สเปรย์ฆ่าเชื้อโรคที่มือทุกครั้งที่มีการหยิบจับหรือสัมผัสสิ่งของในเครื่องบิน
อย่างไรก็ตาม การเดินทางด้วยเครื่องบินเพื่อไปท่องเที่ยวหรือทำงานนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คงไม่มีใครที่อยากติด Covid-19 แล้วพาเชื้อโรคไปหาครอบครัวและคนที่เรารัก ดังนั้นสิ่งที่ควรทำมากที่สุดระหว่างที่เราเดินทางคือ “การเตรียมตัว เตรียมพร้อม และระมัดระวังตัวเองอยู่เสมอ”
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอีกไม่นานนั้นอุตสาหกรรมการบินกำลังจะกลับมาฟื้นตัวเต็มรูปแบบ ทำให้ความต้องการแรงงานในตลาดงานด้านการบินนั้นอาจสูงขึ้นกว่าอดีต ดังนั้น ถ้าหากใครที่สนใจอยากเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าเรียนหรือทำงาน เพิ่มทักษะและความเชี่ยวชาญ หรือมีใจรักในด้านการบินโดยเฉพาะ สถาบันการบิน DAA มหาวิทยาลัยการบินธุรกิจบัณฑิตย์ มีหลักสูตรอบรมที่ให้เลือกหลากหลายในอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งได้รับการรับรองจาก IATA ให้เป็น IATA Authorized Training Center ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่การปูพื้นฐานความรู้ด้านการบิน ด้านการรักษาความปลอดภัย ด้านกฎหมายการบิน รวมถึง สถาบันฯ ยังมีพื้นที่และอุปกรณ์ที่ครบครันให้บริการสำหรับการฝึกอบรมเฉพาะทาง เช่น Flight Simulator เครื่องบินฝึกบินจำลองที่เปิดให้บริการ 2 ประเภท ได้แก่ B737-800NG และ Cessna 172 เรายังมีสถานที่และอุปกรณ์จริงด้านการบินให้เช่าบริการ ไม่ว่าจะเป็น Mock-up บนเครื่องบินจริง A300-600 , Fire Drill การฝึกดับเพลิง , Slide Drill การกระโดดสไลด์อพยพฉุกเฉิน เป็นต้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.daatraining.com/
Comentários